วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประเภทประจำท้องถิ่น


  • ตำโคราช คือส้มตำที่ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและส้มตำลาว คือใส่ทั้งกุ้งและปลาร้า ปรุงรสให้หวานขึ้น เนื่องจากโคราชหรือนครราชสีมาเป็นเมืองที่อยู่กั้นกลางระหว่างลาวและสยามจึงเกิดการผสมทางวัฒนธรรมสองชาติเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ตำโคราชไม่ได้ถือกำเนิดมาจากจังหวัดนครราชสีมาแต่ประการใด แม้กระทั่งชาวโคราชเองก็ไม่นิยมรับประทานกัน

  • ตำเวียง (ตำเวียงจันทน์) คือส้มตำลาวที่มีอิทธิพลมาจากนครเวียงจันทน์ บางกลุ่มนิยมใส่กะปิแทนปาแดก (ปลาร้า) และนิยมใส่เม็ดกระถินลงไปด้วย

  • ตำเซียงใหม่ (ตำเชียงใหม่) คือส้มตำลาวที่ใส่หอยเชอรี่และหอมเป (ผักชีฝรั่ง) ลงไป อย่างไรก็ตาม ตำเชียงใหม่ไม่ได้กำเนิดที่เชียงใหม่ แต่กำเนิดที่อีสาน

  • ตำพม่า คือส้มตำของชาวพม่า ในประเทศพม่า

  • ตำเขมร คือส้มตำของชาวเขมร ในประเทศกัมพูชา

  • ตำไทเหนือ คือส้มตำลาวที่ชาวไทยทางภาคเหนือหรือชาวล้านนานไปตำรับประทานกัน ทำนองเดียวกับตำไทย แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าส้มตำแพร่เข้ามาในดินแดนทางตอนเหนือของประเทศไทยตั้งแต่สมัยใด ส้มตำของชาวล้านนามักมีรสหวานจัด ไม่เผ็ดมาก และหน้าโรยด้วยถั่วลิสง บางแห่งใส่ปลาร้าดิบเป็นตัว หรือใส่ปลาร้าที่ไม่ปรุงรส ปลาร้าบางแห่งเต็มไปด้วยข้าวคั่วและรำข้าวจนน่าตกใจ ปลาร้าบางแห่งมีรสจืดชืด ไร้กลิ่น ชาวเหนือนิยมใส่มะเขือเทศลูกใหญ่ลงในส้มตำ ทำให้น้ำส้มตำมีรสคาว ในทรรศนะของคนอีสานและคนลาวรวมไปถึงคนไทยภาคกลางนั้นเห็นว่า เป็นส้มตำที่ไม่อร่อย เป็นเหตุให้บ่อยครั้งที่ชาวอีสานไม่นิยมรับประทานส้มตำในร้านอาหารของชาวเหนือ และชาวอีสานหรือชาวไทยภาคกลางบางคนถึงขั้นนำส้มตำที่ซื้อกลับบ้านแล้วนำกลับใส่ถุงเหมือนเดิม แล้วนำมาโยนทิ้งที่หน้าร้านส้มตำของชาวเหนือ เป็นต้น ส้มตำของชาวเหนือมักได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีรสชาติที่แย่ที่สุดในบรรดาส้มตำทุกภูมิภาค

  • ตำบูดู คือส้มตำที่ใส่น้ำบูดูของชาวไทยภาคใต้

  • ตำน้ำปู คือส้มตำที่ใส่น้ำปูของชาวไทยภาคเหนือ

     <<BACK       NEXT>>                                 BACK TO TOP

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น